Back to English

a380.jpg
 
           A380 (หรือ ชื่อเดิมคือ A3XX ) เป็นตระกูลเครื่องบินขนาดใหญ่ แบ่งห้องผู้โดยสารเป็นชั้นบน และชั้นล่าง การออกแบบครั้งแรก A380-100 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 555 คน แผนการปัจจุบันนั้น เครื่องเข้าประจำการในสายการบิน ในปี 2007 สายการบินแรก ที่จะได้รับเครื่องคือ สิงคโปร์แอร์ไลน์ จะได้รับเครื่องในเดือนตุลาคม 2007 ปัจจุบัน มีสายการบินที่แสดงความจำนงที่จะซื้อเครื่องบิน A380 เช่น Thai Airways International A380-800 = 6, China Southern Airlines A380-800 = 5, Emirates Airlines A380-800 = 55 , Etihad Airways A380-800 = 4, Korean Air A380-800F = 5, Virgin Atlantic A380-800 = 6, ILFC A380-800 = 10, Kingfisher Airlines = 5, Singapore Airlines A380-800 =19, Lufthansa A380-800 = 15, Air France A380-800 = 12, Qantas A380-800 = 20,Malaysia Airlines = 6, Qatar = 5, VIP = 1 และอีกบางสายการบิน ที่ยังไม่ได้เปิดเผยชื่อบริษัท กระทั่งเดือน มีนาคม 2007 ทั้ง UPS และ FedEX ได้ยกเลิกคำสั่งซื้อแล้วอันสืบเนื่องมาจากปัญหาของ Airbus เอง
        เครื่องบิน A380 สร้างขึ้นจากหลายๆ ประเทศในยุโรปได้แก่ Aeroapatiale-Matra ที่ Toulouse จะทำการประกอบส่วนต่างๆ ของเครื่องบินในช่วงสุดท้าย การสร้างภายในลำตัว ดำเนินการ โดย DASA ที่ Hamburg ทั้ง Aerospatiale และ DASA สร้างส่วนต่างๆของโครงสร้างลำตัวด้วย บริษัท BAE Systems สร้างส่วนของปีก บริษัท CASA ของ Spain สร้างส่วนของแพนหาง บริษัท เครื่องยนต์ก็มีความก้าวหน้าในโครงการค้นคว้า บริษัท Rolls-Royce ก็ดำเนินการ เองโดยลำพัง โดยพัฒนาจากเครื่องยนต์ตระกูล Trent สิงคโปร แอไลน์เลือกเครื่องยนต์ Rolls-Royce Trent 900 ส่วนบริษัท Pratt และ บริษัท GE ได้ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องยนต์ จากตระกูล GE90 และ PW4000 โดยให้ชื่อว่า GP7200 ซึ่งแผนการปัจจุบันจะมีใบพัด (fan blade) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 110 นิ้ว มีอัตราส่วนของอากาศที่ผ่านเครื่องยนต์เท่ากับ 8:1 สำหรับใช้กับเครื่องบิน A380 ซึ่งมีแรงขับดันระหว่าง 67,000-80,000 lbs. เพื่อใช้กับโครงการ A380 (B747X จะใช้เครื่องยนต์รุ่น GP 7100 ซึ่งใบพัดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 101 นิ้ว อัตราส่วนของอากาศที่ผ่าน เครื่องยนต์เท่ากับ 7:1) ราคาของเครื่องบินลำนี้ประมาณ 220 ล้านเหรียญสหรัฐฯ.
    Hydraulic system ของ A380 ระบบไฮดรอลิคจะใช้ระบบที่มีแรงดัน 5000 psi. (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แทนการ ใช้ระบบ 3000 psi .(ปัจจุบัน เครื่องบินพาณิชย์ใช้อยู่คือ 3000 psi.) เพื่อใช้ในการควบคุมส่วนของโครงสร้างที่ใช้บังคับการบิน และทำให้อุปกรณ์ไฮดรอลิคที่ใช้เล็กลง ( แรง = แรงดัน x พื้นที่) และ สามารถลดน้ำหนักของเครื่องบินได้ประมาณถึงตัน.
           บริษัท Airbus ได้ประกาศ บริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ ผลิตอุปกรณ์บางชนิดเพื่อมาใช้กับเครื่อง A380 ดังนี้:
    บริษัท Parker Hannifin Corp.แผนก Electronic Systems Division ได้รับคัดเลือกให้ผลิตระบบเครื่องวัด และระบบบริหารการใช้เชื้อเพลิง .
    บริษัท TRW / Thales ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกัน พัฒนาระบบไฟฟ้าแบบความถี่ไม่คงที่ .
    บริษัท Goodrich Corp. ได้รับการคัดเลือก ให้ผลิตระบบการออกฉุกเฉิน ( evacuation systems ) และระบบล้อประธาน ( main landing gear ) สำหรับ A380
    บริษัท Rolls-Royce ได้รับให้ผลิตระบบการจ่ายเชื้อเพลิงเข้าเครื่องยนต์ Trent 900 ของตัวเอง.
         ในห้องนักบินจะมีจอ LCD ขนาด 7.25x9.25 in.ทั้งหมด 8 จอเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆให้นักบิน ประกอบด้วย flight display 2 จอ navigation display 2 จอ engine parameter display 1 จอ system display 1 จอ และ mulfunction display 2 จอ
         Airbus A380 ได้ทำการทดลองบินครั้งแรกที่เมือง Toulouse ประเทศฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2005
         Airbus A380 ได้รับใบอนุญาตในการบินจาก ยุโรป (EASA) และ สหรัฐอเมริกา (FAA) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2006
         Singapore Airlines รับเครื่อง A380 ประมาณกลางเดือนตุลาคม 2007 และจะบินเป็น Flight แรก จาก สิงคโปร์ ไปซิดนี ประเทศออสเตรเลีย ในวันที่ 25 ตุลาคม 2007.
         การบินไทยกำหนดจะรับเครื่องในปี 2555 จำนวน 4 ลำ และ อีก 2 ลำ ในปี 2556
 
คุณลักษณะ A380-800 และ A380-800F
 
  A380-800 A380-800F
จำนวนผู้โดยสาร 840 in single class
555 in Three classes config.
none
นักบิน 2 2
จำนวนเครื่องยนต์ 4 4
เครื่องยนต์ที่ใช้ Pratt / GE GP-7267
RR Trent RB-967
Pratt / GE GP-7267
RR Trent RB-975
แรงขับเครื่องยนต์ GP-7267=326,000 lbs
RR Trent RB- 967=272,000 lbs
GP-7267=326,000 lbs
RB-975=299,435 lbs
ความยาวของปีก 79.8 m.(261 ft. 10 in) 79.8 m.(261 ft. 10 in)
พื้นที่ของปีก 9,095.5 sq.ft (845.0 sq.m) 9,095.5 sq.ft (845.0 sq.m)
ความยาวลำตัว 72.75 m.(238 ft. 8 inches) 72.75 m.(238 ft. 8 inches)
ความสูงของเครื่อง 24.08 m.(79 ft) 24.08 m.(79 ft)
ความเร็ว 0.88 mach 0.88 mach
เพดานบิน 43,000 ft 43,000 ft.
ระยะทำการบิน 8,000 nm.(14,800 km.) 5,600 nm(10,370 km.)
น้ำหนักสูงสุดบินขึ้น 560,000 kgs(1,234,600 lbs) 590,000 kgs (1,300,700 lbs)
น้ำหนักทำการบินเครื่องเปล่า 277,000 kgs(610,700 lbs) 252,000 kgs(555,600 lbs)
น้ำหนักบรรทุก 84,000 kgs(185,190 lbs) 150,000 kgs(330,695 lbs)
น้ำหนักสูงสุด landing 383 tonnes(844,000 lbs.) 383 tonnes(844,000 lbs.)
ความจุเชื้อเพลิง 260,900 kgs(575,185 lbs) 260,900 kgs(575,185 lbs)
 
1 nm.(nautical mile) = 1.15155 miles, 1 kt (knot) = 1.15155 mile / hr.
1 mach = 761 mph.(SL,ISA)
 
cockpit a380
ลักษณะห้องนักบิน ที่คาดว่าจะเป็น ของเครื่อง A380
 
cabin layout
แผนผังการจัดภายในสองชั้น
 
lower deck layout
แผนผังการจัดชั้นบน
 
upper deck  layout
แผนผังการจัดชั้นล่าง
 
ภาพข้างล่างนี้ เป็น ภาพที่ sketch ขึ้นมา สามารถทำได้ถ้า airlines ต้องการ
ภายในห้องโดยสาร จะมีความกว้าง 23 ฟุต และความยาว 262 ฟุต โดยประมาณ
ภาพทางซ้าย เป็น bar ของผู้โดยสาร


ภาพทางขวา เป็นห้องรับรอง
 
ภาพทางซ้าย เป็นห้องนอน และ ห้องอาบน้ำ
ภาพทางขวา เป็นการจัดอีกรูปแบบหนึ่ง
 
 


© 2001 Thai Technics.Com All Rights Reserved