Back to English
 

 
บทนำ
 
ประวัติการบิน
 
หลักพื้นฐานการบิน
 
การควบคุมทิศทางการบิน
 
flying plane
 
 
การควบคุมทิศทางการบิน
 
แกนของการหมุน
เครื่องบินมีแกนของการหมุนอยู่สามแกน เรียกชื่อว่า แกน longitudinal , แกน vertical , และ แกน lateral . ดูรูปภาพ ข้างล่างประกอบแล้วคุณจะเข้าใจ วิธีที่ง่ายที่จะเข้าใจแกนเหล่านี้ ง่ายๆคือคิดว่ามีไม้อันยาวมาเสียบผ่านเครื่องบิน จากหัวเครื่องบิน, จากปีกเครื่องบิน, และอีกอันผ่านจุดที่มีไม้ สองอันตัดผ่านกันอยู่ และจุดที่ไม้สามอันตัดผ่านกันนั้น ดังรูป เราถือเอาว่าคือจุดศูนกลาง ที่น้ำหนักทั้งหมดของเครื่องบิน จะกระทำที่จุดนี้ (center of gravity).
axis
 
แกนตามยาว ตั้งแต่หัวไปจรดหางเรียกว่า แกน longitudinal axis, และการ หมุน หรือเคลื่อนที่ของลำตัว รอบแกนนี้เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า " Roll "
 
แกนขวางจากปีกข้างหนึ่งไปยังปีก อีกข้างหนึ่งเรียกว่า แกน lateral axis, และการหมุน หรือเคลื่อนลำตัว รอบจุดนี้เราเรียกลักษณะ เช่นนี้ว่า " Pitch "
 
แกนในแนวตั้งที่ผ่านจุดที่เรียกว่า center of gravity (เมื่อเครื่องบิน บินอยู่ในแนวระดับ ) เราเรียกว่า แกน vertical axis, และการหมุน หรือเคลื่อนที่ของลำตัวรอบจุดนี้ เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า " Yaw "
แกน Longitudinal Axis:
 
roll
 
แกนที่วิ่งจากหัวเครื่องบินจนถึงหางเครื่องบิน คือแกน longitudinal axis ( ดูภาพข้างบนประกอบ ). การเคลื่อนที่รอบแกนนี้ เรียกว่า Roll. ลักษณะ ที่เครื่องมีอาการ Roll เป็นผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของ ailerons. Ailerons ติดตั้งอยู่ที่ปลายปีก และควบคุมโดย control column ในห้องนักบิน และสร้างมาในลักษณะ ที่ aileron ข้างหนึ่ง กระดก ลงล่าง แต่อีกข้างหนึ่งจะกระดกขึ้นบน.
 
เมื่อ aileron มีการเคลื่อนไหว จากตำแหน่งศูนย์ หรือตำแหน่งแนวระดับ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ลักษณะแรงยกของปีกเครื่องบินทั้งสองข้าง การทำให้ปีก เครื่องบินยกขึ้น, aileron ของปีกนั้นต้องกระดกลง ปีกที่มี aileron กระดกลงก็จะทำให้แรงยกบนปีกนั้นเพิ่มขึ้น และปีกที่มี aileron กระดกขึ้นก็จะมีแรงยกลดลง สิ่งนี้จะทำให้เครื่องบินเอียงไป ทางด้านที่ aileron กระดกขึ้น.
 
ailerons ของปีกทั้งสองข้างต่อไปยัง control column ในห้องนักบินโดยระบบ mechanical linkage. เมื่อ เมื่อคันบังคับหมุนไปทางขวา ( หรือโยก คันบังคับ ไปทางขวา ), aileron ทางปีกขวาจะกระดกขึ้น และ aileron ทางปีกซ้ายจะกระดกลง ผลที่เกิดขึ้น ก็คือแรงยกทางปีกซ้ายจะเพิ่มขึ้น และแรงยกทางปีกขวาจะลดลง เป็นเหตุให้เครื่องบินเอียงไปทางขวา แต่ถ้าหมุนคันบังคับไปทางขวา ( หรือโยกคันบังคับไปทางซ้าย ) แรงบนปีกก็จะเกิดตรงกันข้าม เป็นเหตุให้เครื่องบินเอียงไปทางซ้าย. ดูภาพเคลื่อนไหว Roll Action กดที่นี่
แกน Lateral Axis
 
pitch
 
แกน lateral axis เริ่มจากปลายปีกถึงปลายปีก ลักษณะการเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis เรียกลักษณะ นี้ว่า pitch อะไรเป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ pitching มันคือ elevator ซึ่งติดตั้งอยู่ที่แพนหาง ( horizontal stabilizer). elevator สามารถกระดกขึ้น หรือกระดกลงได้ เมื่อนักบินบังคับคันบังคับ ( control column or stick) ถอยหลังหรือไปข้างหน้า.
 
การดึงคันบังคับมาข้างหลังจะบังคับให้ elevator กระดกขึ้น. (ดูรูปภาพข้างบน ประกอบ) ลมที่ประทะกับพื้นผิวด้านบนของ elevator ที่กระดกขึ้น ทำให้เกิดแรงกดมากขึ้น เป็นเหตุให้ส่วนหางของเครื่องบินถูกกดลง การเคลื่อนไหวรอบแกน lateral axis, เมื่อหางเคลื่อนที่ลง (pitches) ส่วนหัวของเครื่องบิน (pitches) เชิดขึ้น เครื่องบินไต่ระดับ
 
การผลักคันบังคับไปข้างหน้า เพื่อบังคับ elevator ให้กระดกลง . ลมที่ประทะ กับพื้นผิวด้านล่างของ elevator ที่กระดกลง ทำให้เกิดแรงด้านล่างมากขึ้น กว่าด้านบน เป็นเหตุให้ส่วนหาง ของเครื่องบินกระดกขึ้น ( pitch up ) และ หัวของเครื่องบินกระดกลง เป็นเหตุให้หัวเครื่องบินดิ่งลง ดูภาพเคลื่อนไหว Pitch Action กดที่นี่
แกน Vertical Axis:
 
yaw
 
แกนที่สาม ซึ่งผ่านจากหลังคาด้านบน ทะลุท้องเครื่องบิน เรียกว่า แกน vertical หรือ yaw axis. หัวเครื่องบิน เคลื่อนที่ ไปรอบแกนนี้ จากด้านข้างหนึ่ง ไปอีกด้านข้างหนึ่ง Rudder ของเครื่องบิน ซึ่งเคลื่อนไหว โดยการที่นักบิน ใช้เท้าเหยียบไปบน แผ่น rudder ที่อยู่บนพื้น rudder ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ของเครื่องบินรอบแกนนี้ Rudder เป็นแผ่นบังคับที่เคลื่อนไหวติดอยู่กับกระโดงหาง การเหยียบลงบน ( rudder pedal ), แผ่นบังคับด้านขวา rudder ก็จะตวัดไปทางขวา เหยียบแผ่นบังคับที่พื้นไปทางซ้าย จะบังคับให้ rudder ตวัด ไป ทางซ้ายt, เมื่อนักบิน เหยียบแผ่นบังคับทางซ้าย, นั่นหมายความว่าถ้านักบินกำหนดทิศทางของ Rudder ให้ตวัดไปทาง ทางซ้าย นี่ก็ทำให้เกิดแรงกระทำต่อหาง , แผ่นหางของเครื่องบิน หางของเครื่องบินก็จะเบนไปทางขวา และ หัวของเครื่องบิน ก็จะเบนไปทางซ้าย( yaw to the left).ดูภาพเคลื่อนไหว Yaw Action กดที่นี่
 
Back to Introduction
Back to History
Back to Principles