Back to English
 

 
บทนำ
 
ประวัติการบิน
 
หลักพื้นฐานการบิน
 
การควบคุมทิศทางการบิน
 
flying plane
 
 
หลักพื้นฐานการบิน
 
แรงที่กระทำต่อเครื่องบิน
มีแรงที่กระทำต่อเครื่องบินอยู่ 4 แรงตลอดเวลา ขณะที่เครื่องบินกำลังบินอยู่ แรงทั้งสี่นั้น คือ
(1) แรงยก ( Lift ), (2) แรงดึงดูดของโลก ( Gravity force or Weight ), (3) แรงขับไปข้างหน้า (Thrust ), และ (4) แรงต้านทาน หรือแรงฉุด (Drag ).
แรงยก และแรงต้าน (Lift and Drag ) ถือว่าเป็นแรงที่เกิดจาก aerodynamics เพราะว่าแรงนี้ เกิดจากการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน ผ่านอากาศ
four forces
 
แรงยก (Lift ): เกิดขึ้นโดยความกดอากาศต่ำ ที่เกิดขึ้นที่พื้นผิวด้านบน ของปีก เมื่อเปรียบเทียบกับความกดอากาศที่พื้นผิวด้านล่างของปีกเครื่องบิน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ แรงที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวด้านบนของปีก น้อยกว่าแรงที่เกิดขึ้น ที่พื้นผิว ของปีกด้านล่าง ตามหลักของเบอร์นูลลี่ ทำให้เกิดแรงยกขึ้นข้างบน ที่ปีกของเครื่องบิน. ลักษณะรูปร่างของปีกเครื่องบิน ถูกออกแบบมาให้อากาศ ที่พัดไหลผ่านด้านบนของปีก จะมีระยะทางที่อากาศต้องเดินทางมากกว่า จึงทำให้ต้องไหลผ่านเร็วกว่าด้านล่าง ทำให้เกิดความกดอากาศต่ำ ( ดูรูปประกอบ ) ดังนั้นจึงทำให้ปีกถูกยกขึ้น แรงยกก็คือ แรงที่อยู่ตรงข้ามกับน้ำหนัก หรือแรงดึงดูดของโลก
lift
 
แรงยกขึ้นอยู่กับ (1) รูปร่างของ airfoil (2) มุมที่ปีกกระทำต่อ Relative Wind (3) พื้นที่ผิวที่อากาศไหลผ่าน (4) กำลังสองของความเร็วลม ( นำไปหา dynamic pressure) (5) ความหนาแน่นของอากาศ.
lift equation
 
น้ำหนัก (Weight ): เกิดจากแรงดึงดูดของโลก แรงนี้ กด หรือดึงเครื่องบินลงมายังโลก เราถือว่ากระทำที่จุดศูนย์กลางของแรง หรือ CG ของเครื่องบิน
แรงขับเคลื่อน (Thrust ): คือ แรงที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า จะเป็นแรงผลัก หรือ แรงฉุด ที่ เกิดจากเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ลูกสูบ, เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ท หรือเทอร์โบแฟน
thrust equation
 
แรงต้าน ( Drag ): เป็นแรงที่กระทำตรงข้ามกับแรงที่ขับเคลื่อน เครื่องบินไปข้างหน้า โดยเฉพาะเป็นแรงที่ต่อต้าน การเคลื่อนที่ของวัตถุในอากาศ มีทิศทางขนานกับวัตถุที่เคลื่อนที่ นี่ก็คือแรงเสียดทานของอากาศ ที่ผ่านส่วนต่างๆ ของเครื่องบิน. แรงต้านเกิดจากการกระทบของอากาศ การเสียดทานของพื้นผิวเครื่องบิน และแรงดูดเนื่องจากอากาศแทนที่
drag equation
 
การควบคุมการบิน
เครื่องบิน ประกอบไปด้วย ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ และส่วนที่อยู่กับที่เคลื่อนไหวไม่ได้ แต่ช่วยให้การบินมีสเถียรภาพ และใช้บังคับเครื่องบินขณะบิน กรุณาดูรูปประกอบ
Flight Control
 
ส่วนทุกส่วนของ airfoil ออกแบบมาให้ทำหน้าที่เฉพาะในขณะที่เครื่องบินบินอยู่ ส่วนที่เคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น ปีก, กระโดงหาง, และแพนหาง. ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ ก็ได้ แก่ส่วนที่ควบคุม หรือบังคับการบิน ได้แก่ Ailerons, Elevator, Rudders และ Flaps สำหรับ Ailerons, Rudders, Elevators ใช้ ในการบังคับทิศทาง หรือลักษณะท่าบิน เพื่อทำให้เครื่องบินบินไปตามที่นักบิน ต้องการ ส่วน Flaps นั้นจะใช้ระหว่างเครื่องจะลงสนามบิน และจะให้ยื่นออกมาเล็กน้อยขณะบินขึ้น
Aileron: บางครั้งเรียกว่าปีกเล็กแก้เอียง คือส่วนที่ใช้ ในการควบคุมเครื่องบิน สามารถเคลื่อนไหวได้ ติดตั้งที่ชายปีกหลัง ส่วนของปลายปีกใช้บังคับให้ เครื่องบินเอียง ซ้าย-ขวา หรือรอบแกน Longitudinal Axis.
Elevator: เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมในแนวระดับ, ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ ชายหลังของแพนหาง ออกแบบมาเพื่อใช้บังคับการเคลื่อนที่รอบแกน Lateral Axis หรือ Pitching คือบังคับให้หัวเชิดขึ้นหรือลง
Rudder: เป็นส่วนที่ตั้งอยู่ในแนวตั้ง ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ ชายหลังของกระโดงหาง ( vertical stabilizer) ออกแบบมาเพื่อใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวรอบแกน Vertical Axis คือบังคับให้เครื่องบินหันหัวไปทางซ้าย หรือขวา โดยปกติแล้วในการเลี้ยวจะใช้งานร่วมกันระหว่าง Rudders และ Ailerons คือเครื่องจะเอียงด้วย
 
flap
 
Wing Flaps: ติดตั้งอยู่ที่ชายปีกหลังด้านใน อยู่ติดกับลำตัว อาจจะ ติดตั้ง แบบบานพับ หรือแบบเลื่อนออก เพื่อเพิ่มส่วนโค้งของด้านบนของปีก และเพิ่มพื้นที่ของปีก ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงยกให้ปีก
Next to การควบคุมทิศทางการบิน
Back to ประวัติการบิน